วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับงานควิลท์ (quilting)


        งานควิลท์ เป็นแขนงหนึ่งของ งานศิลปะแฮนด์เมดจากผ้าคอตตอล ที่นิยมกันในหมู่ผู้รักงานยูนีคคะ ตามข้อมูลที่ไปค้นมา งาน quilting นี้ เกิดขึ้นครั้งแรกๆในภาวะสงครามของประเทศตะวันตก ต้องหาเสื้อใส่ด้านในเกราะทหาร แล้วคิดกันว่าจะทำยังไงดี ให้มันหนาๆนุ่มๆ กันความหนาว กันความเย็น ป้องกันการกระแทก เวลาต้องออกทัพ ออกศึก จากบรรดาภรรยา ลูกสาว ทำให้กับสามี หรือ ลูกชาย ที่ต้องรบทัพจับศึก

ในยุคเริ่มแรกนั้น จึงเป็นเสื้อนวม ทำจากผ้าฝ้าย หรือคอตตอลที่หาได้ในยุคนั้น ในสมัยนั้นยังไม่มีใยโพลีอัดแข็ง หรือใยหนา ที่เรามีใช้กันในปัจจุบัน จึงเป็นเป็นวัตถุดิบที่มีเยอะ ก็คือ นุ่นคะ นุ่นมีความนุ่ม กันกระแทกได้ดี ให้ความอบอุ่นได้อย่างดี จึงกลายมาเป็นไส้ในฮอตฮิตในยุคนั้น พอยังไม่มีจักรเป็นผู้ช่วย ก็ต้องใช้มือล้วนๆในการเย็บ โดยใช้เทคนิคการควิลท์ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ ควิลท์) ต่อมาเมื่อมีการผลิตจักรเย็บผ้าขึ้นมา ขั้นตอนการ batting ก็จะเร็วขึ้น ไม่ปวดเมื่อยมือเหมือนแต่ก่อน



พออุตสาหกรรมเข้ามามีบทบาท ก็ช่วยให้ปั่นฝ้ายทำเส้นด้ายได้เร็วขึ้น ทำให้ผลิตได้เร็วมากขึ้น มากกว่าการทอจากแรงงานคนเพียงอย่างเดียว พอทำได้เร็วขึ้น เยอะขึ้น ตามกลไกตลาดก็จะมีราคาถูกลง จากราคาผืนหนึ่งที่แพงหูฉี่ ก็จะถูกลงเป็นราคาที่ชนชั้นกลางจะสามารถซื้อมาตัดเย็บได้ นำมาทำผลงานต่างๆได้มากขึ้น ส่วนใหญ่ก็เริ่มต้นจากของใช้ในบ้านคะ เช่น ตัดเสื้อผ้าใช้เอง ให้คนในบ้านใช้ ผ้าคลุมเตียง ผ้าห่ม ผ้าพันคอ เสื้อกันหนาว ผ้าปูโต๊ะ ที่รองแก้ว ผ้ากันเปื้อน กระเป๋า ของใช้ในครัวเรือน เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เฟอร์นิเจอร์ที่ได้จากงานควิลท์ คงนึกภาพไม่ออกใช่มั๊ยคะ ตัวอย่างเช่น กระเป๋าผ้า ที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เปิดด้านบน ไว้ใส่ของใช้ต่างๆ

ซึ่งงานทุกอย่างแทบจะครอบคลุมการใช้งานของคนทุกวัยกันเลยทีเดียวคะ สังเกตุได้ง่ายๆว่า ในประเทศไทย ยุคแรกๆ ที่ต้องนำจักรเข้ามา ราคาเครื่องนึงแพงกว่าทองคำอีกคะ เป็นแสนๆ ต่อมามีราคาถูกลง แทบทุกบ้านก็จะมี แม่บ้านทุกหลัง แทบไม่มีใครที่เย็บ ปะชุนผ้าไม่เป็น ดังนั้นการทำงานประเภทนี้จึงอยู่ในแวดวงของผู้หญิง แทบจะทุกหลังคาเรือนของโลกกันทีเดียว

ในประเทศซึกโลกตะวันตก เช่น อังกฤษ เฟื่องฟูสุดๆ ในยุคสงครามล่าอาณานิคม ถึงขนาดเรียกงานควิลท์ ที่ติดปากกันมาจนถึงปัจจุบันว่า โคโลเนียลควิลท์ (colonial quilts) เพราะเมื่อมีผลงานออกมา สื่อสิ่งพิมพ์ วงการแฟชั่น ในยุคนั้นก็เริ่มบูม ทำให้ทั้งงานแฮนด์เมด quilting ผสมกันอย่างกลมกลืนกับแฟชั่น และสื่อต่างๆ ทำให้เกิดความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาไม่นาน

ที่กล่าวถึงประเทศ อังกฤษ อเมริกา บ่อยๆในเรื่องงานศิลปะแขนงนี้ ก็เพราะมีการจดบันทึกไว้ แต่ใช่ว่า ประเทศอื่นๆจะไม่มี เพราะอย่างในไทย งานฝีมือแฮนด์เมดของเรา ก็สืบต่อกันมาทางดีเอ็นเออยู่แล้วจริงมั๊ยคะ หลักฐานอื่นๆนอกจากการบันทึกในกระดาษ ก็มีการขีดเขียนบนผนังถ้ำของประเทศอียิปต์ ที่การตัดเสื้อ ตัดชุด การทำงานแฮนด์เมด เพื่อความสวยงาม เพื่อการใช้งานในด้านต่างๆ ก็มีกันมาตั้งแต่ยุคนั้น

ถึงจะมีหลักฐานบันทึกไว้ หรือไม่มี ก็หาใช่สาระสำคัญไม่ เพราะหากใครเข้าถึงหัวใจของงานศิลปะควิลท์ ที่ต้องใช้แรงบันดาลใจ ความรักในงาน ก็จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ดีทั้งสิ้นคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก www.visavivamarts.com
        
        



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น